EC Fan : Electronically Commutated Fan

อุปกรณ์ที่สำคัญมากชนิดหนึ่งในระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับอาคารพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือ “พัดลม”  ซึ่งมีการติดตั้งในเครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศเป็นจํานวนมาก และมีอัตราการใช้พลังงานที่พัดลมทั้งหมดของอาคารไม่ต่ำ กว่า 30% ของการใช้พลังงานโดยรวมของระบบปรับอากาศ ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากการใช้พลังงานที่เครื่องทํานําเย็น  เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน  ในอดีตจึงมีการใช้อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบพัดลม (Variable Speed Drive) เพื่อปรับลดความเร็วรอบของพัดลมตามภาระการใช้งานจริง ซึ่งสามารถช่วยในการประหยัดพลังงานได้ในระดับหนึ่ง  แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพัดลมและมอเตอร์ได้มีทางเลือกใหม่สำหรับการอนุรักษ์พลังงาน เช่น
1) Fan System w/ Integrated Motor and Speed Controller (EC Fan) หรือ
2) พัดลมทีใช้ High Efficiency EC Axial Fan with Speed Controller 
ซึ่งเป็นระบบพัดลมที่มีมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงพร้อมตัวควบคุมความเร็ว เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมากเมื่อเทียบกับวิธีการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้เทคโนโลยีดังกลาวยังเอื้อต่อการจัดรูปแบบการแบงปริมาณลมโดยการจัดวางพัดลมขนาดเล็กหลายๆ ชุดในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ชุดเดียวในลักษณะของ Fan Grid ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าสนใจทั้งในเรื่องของการลดขนาดพื้นที่ติดตั้งพัดลมอีกด้วย

EC Motor Fan คืออะไร?

EC หรือ Electronically Commutated มอเตอร์ คือ EC เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าไร้แปรงถ่าน ที่ออกแบบด้วย แม่เหล็กถาวรบนโรเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออนบอร์ด เพื่อควบคุมแรงดันและกระแสไฟที่ใช้กับมอเตอร์

กล่าวโดยย่อคือ การใช้งานพัดลมแบบมอเตอร์ไฟฟ้าไร้แปลงถ่าน (EC) จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าพัดลมแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เนื่องจากสนามแม่เหล็กรองนั้น มาจากตัวแม่เหล็ก มากกว่า ขดลวดทองแดง โดยพลังงานจะไม่มีการสูญเปล่า เพราะว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมสเตเตอร์ และประสิทธิภาพที่กำลังพูดถึงนั้นสูงถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับ 20–70% ของ มอเตอร์กระแสสลับ และ ยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น โดยเฉลี่ย 30%

นอกจากนี้ มอเตอร์ EC ยังมีขอบเขตประสิทธิภาพที่มีจุดทำงานต่างๆที่คงที่   ไม่แตกต่างกันมาก หากจุดที่ทำงานไม่ใช่จุด Optimum point เช่น พัดลมธรรมดา นอกเหนือจากนี้ มอเตอร์ EC ให้ประสิทธิภาพ และการควบคุมที่ดีขึ้น ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมความเร็ว ในแง่ของการควบคุมความเร็ว มอเตอร์ EC มีการควบคุมความเร็วหลายแบบในขณะที่มอเตอร์ AC ไม่มีตัวเลือกดังกล่าว

อีกทั้ง ยังสามารถให้เอาต์พุตเดียวกันได้ด้วย มอเตอร์ EC ที่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ มอเตอร์ AC หรือ DC ทั่วไป เนื่องจากโรเตอร์ภายนอก ทำให้มีการออกแบบ ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด จึงสามารถช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากขึ้นอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
-สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย
-บริษัท เบเจอร์ บี.กริม (ประเทศไทย) จำกัด
-ebm-papst Group

 

   

Visitors: 490,503